จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560
หมู่บ้านทำยาสูบ
หมู่บ้านแห่งนี้นั้นเป็นหมู่บ้านที่ทำไร่ปลูกยาสูบตามแนวริมฝั่งโขง ซึ่งนับว่ามีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามอุดมไปด้วยธรรมชาติที่อุดมสมบรูณ์ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจมาก การปลูกยาสูบของหมู่บ้านแห่งนี้นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่คนในหมู่บ้าน โดยนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนสามารถรับชมบรรยากาศความงามของไร่ที่ปลูกยาสูบไปพร้อมกับวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของธรรมชาติโดยรอบ อีกทั้งยังสามารถสัมผัสถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนคนในหมู่บ้านรวมทั้งสามารถเรียนรู้ถึงกระบวนการและขั้นตอนในการปลูกยาสูบตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปได้ทั้งกระบวนการอีกด้วย
ที่ตัั้ง : ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย 43110
เวลาเปิด - ปิด : 08.30 - 16.30 น.
วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560
โรงเรียนท่าบ่อ
- ตราประจำโรงเรียน
- เพขร : ความเป็นเลิศทางวิชาการ
- เรือสำเภา : การพาณิชยกรรม
- เคียวกับรวงข้าว : การเกษตรกรรม
- ทั่งกับค้อน : การอุตสาหกรรม
- ช่อใบยาสูบ : ยาสูบเป็นพืชเศรษฐกิจของอำเภอท่าบ่อ
- พุทธสุภาษิต : " ปญฺญา นรานํ รัตนํ " อ่านว่า " ปัน - ยา - นะ - รา - นัง - รัด - ตะ - นัง " แปลว่า " ปัญญาเปรียบดวงแก้วแห่งนรชน "
- คติพจน์ : เรียนดี กีฬาเก่ง เคร่งวินัย
- สีประจำโรงเรียน : เหลือง - ดำ
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ได้เปิดทำการสอน ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2491 โดยกระทรวงศึกษาธิการได้มีหนังสือลงวันที่ 14 ตุลาคม
พ.ศ. 2491 ให้เปิดโรงเรียนประจำอำเภอท่าบ่อ และมีคำสั่งให้ นายสุริยน
นาตรีชน ตำแหน่งครูโรงเรียนประจำจังหวัดหนองคาย
ให้มารักษาการตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนท่าบ่อ
ได้ดำเนินการเปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ในช่วงแรกได้ทำการสอนที่อาคารเรียน โรงเรียนโกมลวิทยาคาร
พ.ศ. 2492 โรงเรียนได้รับที่ดินราชพัสดุ ขนาดกว้าง 124 เมตร ยาว 237.5
เมตร คิดเนื้อที่ประมาณ 18 ไร่ 1 งาน 62 ตารางวา
ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อโรงเรียนโกมลวิทยาคาร
ทางทิศใต้และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรกเป็นอาคารไม้ 6
ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง
จึงได้ย้ายนักเรียนที่ฝากเรียนอยู่ที่โรงเรียนโกมลวิทยาคารมาเรียนที่อาคาร
เรียนหลังใหม่ของโรงเรียนท่าบ่อ
พ.ศ. 2500 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 100,000 บาท
พ.ศ. 2504 ได้รับงบประมาณ ต่อเติมชั้นล่างของอาคารเรียนหลังแรก 6 ห้องเรียนงบประมาณ 50,000 บาท
พ.ศ. 2515 กรมสามัญศึกษาเห็นว่า สถานที่โรงเรียนเดิมคับแคบ
ไม่สามารถขยายและปรับปรุงให้ได้ขนาดมาตรฐานได้จึงให้โรงเรียนพิจารณาที่แห่ง
ใหม่
โรงเรียนจึงเสนอจังหวัดขออนุญาตใช้ที่สาธารณสุขโคกใหญ่ซึ่งอยู่ติดกับถนนสาย
ท่าบ่อ-บ้านผือ ห่างจากโรงเรียนท่าบ่อหลังเดิมประมาณ 2.5กิโลเมตร
จังหวัดอนุญาตให้ใช้ได้เนื้อที่ ประมาณ165 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา
พ.ศ. 2519 ได้ย้ายนักเรียนบางส่วนออกมาเรียนที่โรงเรียนแห่งใหม่และเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2 ห้องเรียน
พ.ศ. 2520 ได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดออกมาเรียนที่แห่งใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนท่าบ่อ
วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560
ประวัติอำเภอท่าบ่อ
ท่าบ่อ
ที่มาของชื่อ เดิมชาวบ้านโคกคอน บ้านว่าน และบ้านนาข่าซึ่งมีอาชีพต้มเกลือสินเธาว์ได้นำเกลือมาขายบริเวณวัดท่าคกเรือ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ต่อมาจึงเรียกบริเวณนี้ว่า "บ้านท่าบ่อเกลือ"
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอท่าบ่อแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 98 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ท่าบ่อ | (Tha Bo) | 13 หมู่บ้าน | 6. | บ้านถ่อน | (Ban Thon) | 8 หมู่บ้าน | |||||||||||||||||||||||||||||
2. | น้ำโมง | (Nam Mong) | 13 หมู่บ้าน | 7. | บ้านว่าน | (Ban Wan) | 8 หมู่บ้าน | |||||||||||||||||||||||||||||
3. | กองนาง | (Kong Nang) | 13 หมู่บ้าน | 8. | นาข่า | (Na Kha) | 8 หมู่บ้าน | |||||||||||||||||||||||||||||
4. | โคกคอน | (Khok Khon) | 7 หมู่บ้าน | 9. | โพนสา | (Phon Sa) | 10 หมู่บ้าน | |||||||||||||||||||||||||||||
5. | บ้านเดื่อ | (Ban Duea) | 9 หมู่บ้าน | 10. | หนองนาง | (Nong Nang) | 10 หมู่บ้าน |
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอศรีเชียงใหม่ และนครหลวงเวียงจันทน์ (ประเทศลาว)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับนครหลวงเวียงจันทน์ (ประเทศลาว) และอำเภอเมืองหนองคาย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสระใคร และอำเภอบ้านผือ (จังหวัดอุดรธานี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านผือ (จังหวัดอุดรธานี) และอำเภอโพธิ์ตาก
สถานที่ที่น่าสนใจ
หมู่บ้านประมงน้ำจืด
อยู่ที่ตำบลกองนาง ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211 ตอนท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้านมีอาชีพทำการประมงน้ำจืดและเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดชนิดต่าง ๆ เช่น ปลาตะเพียน ปลาไน ปลานวลจันทร์น้ำจืด ปลายี่สกเทศ ปลาเกล็ดเงิน ปลาหัวโต และปลาดุกเทศ โดยจัดส่งไปจำหน่ายยังกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง
หมู่บ้านทำยาสูบ
อยู่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211 ตอนสี่แยกหนองคาย-ท่าบ่อ มีชาวบ้านทำไร่ยาสูบตามแนวเลียบริมฝั่งโขง มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม เป็นวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง
หมู่บ้านทำแผ่นกระยอ
![](https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/e/e5/Thabo2.jpg/250px-Thabo2.jpg)
อยู่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 2 (หนองสองห้อง)-ท่าบ่อ เป็นหมู่บ้านทำแผ่นกระยอ เป็นแผ่นแป้งสำหรับใช้ทำเปาะเปี๊ยะ มีการส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนและวิถีชีวิตที่น่าสนใจ
แหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน
อยู่ที่บ้านโคกคอน ตำบลโคกคอน เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาถึงสมัยทวารวดี ได้มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเครื่องใช้ต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก โบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องมือหินขัด กำไลหิน หัวลูกศรหิน กระพรวนสำริด แท่งดินเผา มลายภาชนะดินเผาแบบเนื้อดิน บางชิ้นมีลายเขียนสีแดงแบบกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง เสมาหินสมัยทวารวดี และครกหินใหญ่ที่สันนิษฐานว่าเป็นเบ้าหลอมโลหะ นอกจากนี้ยังได้พบเหรียญฟูนันสมัยทวารวดี
หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ
![](https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/7/7c/Thabo1.jpg/250px-Thabo1.jpg)
ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดศรีชมภูองค์ตื้อ บ้านน้ำโมง ตำบลน้ำโมง หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อปี พ.ศ. 2105 โดยใช้ทองเหลืองและทองแดงหนัก 1 ตื้อ (ประมาณ 12,000 กิโลกรัม) แล้วหล่อเป็นส่วน ๆ โดยหล่อพระเกศเป็นลำดับสุดท้าย เมื่อหล่อเสร็จประกอบเป็นองค์พระแล้วได้นำมาประดิษฐาน ณ วัดโกสีย์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีชมภูองค์ตื้อ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงทราบและได้เสด็จมาทอดพระเนตรแล้วเกิดศรัทธา จึงได้ทรงสร้างพระวิหารเพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าองค์ตื้อ และปันเขตแดนให้เป็นเขตของพระเจ้าองค์ตื้อพร้อมทั้งมีบริวาร 13 หมู่บ้าน
พระเจ้าองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสำริดขนาดใหญ่ และถือว่าใหญ่ที่สุดของจังหวัดหนองคาย มีพุทธลักษณะงดงามมาก หน้าตักกว้าง 3.30 เมตร สูง 4 เมตร ชาวหนองคายและประชาชนทั่วไปทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงนับถือหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาได้กำหนดเป็นพระราชพิธีที่กษัตริย์เวียงจันทน์ต้องเสด็จมานมัสการทุก 4 เดือน โดยแต่งขบวนช้าง ม้า และราบ มาสักการะจากวัดท่าคกเรือจนถึงวัดพระเจ้าองค์ตื้อเป็นระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร ถนนนี้จึงได้ชื่อว่า "จรดลสวรรค์" มาจนถึงทุกวันนี้
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 มีการเวียนเทียนรอบพระวิหารพระเจ้าองค์ตื้อ และตอนเช้าวันแรม 1 ค่ำ มีการจุดบั้งไฟบูชาพระเจ้าองค์ตื้อ และเป็นวันสิ้นสุดงานสมโภชพระเจ้าองค์ตื้อ ซึ่งมีเป็นประจำทุกปีตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ไปจนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4
วัดศรีชมภูองค์ตื้อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
วัดศรีชมภูองค์ตื้อ
วัดศรีชมภูองค์ตื้อ ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 8 บ้านน้ำโมง ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคายสังกัดมหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา โฉนดเลขที่ 1212 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 220 เมตร จดที่มีการครอบครอง, ทิศใต้ประมาณ 210 เมตร จดทางสาธารณประโยชน์, ทิศตะวันออกประมาณ 140 เมตร จดห้วยโมง, ทิศตะวันตกประมาณ 121 เมตร จดทางสาธารณประโยชน์, อาคารเสนาสนะประกอบด้วยพระอุโบสถ, พระวิหาร, ศาลาการเปรียญ, กุฏิสงฆ์ 9 หลัง, ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์นามพระเจ้าองค์ตื้อ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร พระเจ้าองค์ตื้อน้อยประดิษฐานในพระอุโบสถ เจดีย์นกยูง เจดีย์ดอกบัว
เรื่องหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ ถอดความจากอักษรตัวธรรมหรือภาษาไทยน้อยได้ว่าดังนี้
- สร้างเมื่อพระพุทธศักราช 2105 พระวรรษา
- พระชัยเชษฐาเป็นลูกเขยพระยาศรีสุวรรณภรรยาของพระชัยเชษฐาคือ พระนางศรีสมโพธิมีลูก 4 คนเป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 1 คน
- พระชัยเชษฐาเกิดที่เมืองเวียงคุก ภรรยาเกิดที่เมืองจำปา (บ้านน้ำโมง) ในปัจจุบัน
- นามวัดโกศีลสร้างได้ 1 ปี 3 เดือน สมภารชื่อพระครูอินทราธิราช อายุ 34 พรรษา 15 มีพระอยู่ด้วย 12 รูป สามเณร 5 รูป
- ทางวัดโกศิลทางยาว 1 เส้น 5 วา กว้าง 1 เส้น 10 วา
- วัด โกศิล เป็นวัดที่สำคัญมากกงจักรเกิดที่วัดนี้ พระชัยเชษฐาจึงเลื่มใสจึงชักชวนคณะที่มีศรัทธารวม 8 คนคือ พระชัยเชษฐา, ท้าวอินทราธิราช, ท้าวเสนากัสสะปะ, ท้าวอินทร์, ท้าวเศษสุวรรณ, ท้าวพระยาศรี, ท้าวดามแดงทิพย์, ท้าวอินสรไกรยสิทธิ์ ร่วมกันสร้าง พระชัยเชษฐาเป็นคนหล่อ
- พระ ชัยเชษฐาป่าวร้องให้บริวาร 500 คนมาช่วยหล่อเป็นทองเหลือง เงิน และคำสผมกันน้ำหนักได้หนึ่งตื้อทำพิธีหล่อเท่าไรก็ไม่สำเร็จต่อเมื่อพระ อินทร์และเทพยดา 108 องค์มาช่วยหล่อจึงสำเร็จเป็นหลวงพ่อองค์ตื้อ
- วัดโกศิลตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง สร้างอยู่ 7 ปี 7 เดือนจึงสำเร็จเป็นหล่องพ่อองค์ตื้อ
- เมื่อหล่อแล้วมีอภินิหารเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถึง 100 อย่าง
- พระพุทธรูปองค์นี้สิ้นเงิน 105,000 ชั่ง
- บ้าน ที่ขึ้นเป็นบริวารมี 13 บ้านคือ เมืองเวียงคุก, กองนาง, กำพร้า, จินายโม้, ปากโค, พรานพร้าว, ศรีเชียงใหม่, หนองคุ้งยางคำ, หนองแซงศรี, สามขา, ท่าบ่อ และ บ่อโอทะนา
ปาฏิหาริย์หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ
มี เรื่องเล่ากันว่าครั้งหนึ่งพวกฮ่อได้ยกทัพข้ามโขงมาขึ้นที่ฝั่งวัดน้ำโขง เพื่อหวังจะทำลายพระองค์ตื้ออันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนแถบนั้นเพื่อ เป็นการทำลายขวัญและกำลังใจของชาวบ้าน ขณะที่ข้าศึกได้จ้วงขวานฟันลงไปที่พระชานุ (เข่า)ของพระองค์ตื้อนั้นก็ปรากฏมีเสียงร้องออกมาจากพระโอษฐ์ และมีพระโลหิตไกลออกจากแผลที่พระชานุ พร้อมกับมีน้ำพระเนตรไหลซึมออกมาเป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก ข้าศึกเห็นเป็นอัศจรรย์เช่นนั้นก็เกรงจะเกิดภัยจึงได้รีบยกทัพกลับ แต่ก็ปรากฏว่าพวกฮ่อได้ถึงแก่ความตายจนหมดสิ้น ทุกวันนี้แผลเป็นที่พระชานะก็ยังปรากฏอยู่
ใน สมัยก่อนผู้คนสัญจรไปมาจะสวมรองเท้าเข้าไปในวัดไม่ได้ จะต้องมีอันเป็นไปโดยประการต่างๆ แม้แต่เจ้านายที่เข้ามาถือน้ำพิพัฒนสัตยาจะสวมรองเท้าเข้าไปในวิหารนั้นก็ ไม่ได้ถ้าบุคคลใดฝ่าฝืนก็จะได้รับโทษโดยประการต่างๆ เช่นเจ็บป่วยโดยกะทันหันเป็นต้น
บุคคล ที่ไม่มีบุตรธิดาสืบสกุล มีดอกไม้ธูปเทียนหรือเครื่องสักการะอย่างอื่นมาทูลขอบุตรธิดาจากพระองค์ตื้อ บุคคลผู้นั้นก็จะได้กุลบุตรธิดาสืบสกุลสมความมุ่งหมายปรารถนา แต่บุตรธิดาที่พระองค์ประธานให้แล้วนั้น บิดามารดาจะทำโทษหรือเฆี่ยนตีโดยประการใดๆ ไม่ได้ ต้องสั่งสอนเอาโดยธรรมเท่านั้น
บุคคล ผู้ใดของหาย เช่น เงิน ทอง โค กระบือ เป็นต้น มีดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะมาบูชาบวงสรวง เพื่อให้ได้สิ่งของนั้นคืนมาก็จะได้คืนมาสมประสงค์ทรัพย์สมบัติของใครหายไม่ ทราบว่าผู้ใดมาลักขโมยเอาไป เจ้าของทรัพย์หากมีความสงสัยผู้ใดก็นำบุคคลผู้นั้นมาทำสัตย์สาบานต่อหน้าพระ พักตร์พระเจ้าองค์ตื้อ ถ้าบุคคลผู้นั้นไม่ได้เอาไปก็จะไม่เป็นอะไร แต่ถ้าบุคคลผู้นั้นเอาไปจริงๆ แต่ปฏิเสธไม่ยอมรับตามความจริง บุคคลผู้นั้นก็จะได้รับโทษเช่น เจ็บป่าวยหรืออาจถึงแก่ความตายได้
บุคคล ผู้ใดไปทำศึกสงคราม ได้มาบนบานขอให้พระเจ้าองค์ตื้อคุ้มครอง บุคคลผู้นั้นก็จะปลอดภัยประสพแต่ความสวัสดีมีชัยกลับมาและบุคคลผู้ใดปรารถนา อยากจะให้มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตนำเครื่องสักการะมาบูชาพระเจ้าองค์ ตื้อขออานุภาพของพระองค์ตื้อคุ้มครองและบันดาลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองใน การประกอบอาชีพที่สุจริตบุคคลผู้นั้นก็จักเจริญสมความมุ่งมาดปรารถนาทุก ประการ
อนึ่งการเจ็บไข้ได้ป่วย จนถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อไปมาไม่ได้ บางคนก็ให้ญาติพี่น้องไปบูชาแผ่นทองปิดองค์หลวงพ่อใหญ่หรือพระพุทธจำลอง ตั้งจิตอธิฐานปิดตรงที่เจ็บปวดนั้น ปรากฏว่าโรคนั้นก็หายดังจิตอธิฐาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)