จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

นี่คือแบบคราวๆ ของเว็บไซต์เรานะคะ

แล้วเจอกันเร็วๆนี้





วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ

รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ


เมื่อปี พ.ศ. 2447 ได้มีการก่อตั้ง “สุขศาลาท่าบ่อ” ขึ้นเพื่อบริการด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ชาวอำเภอท่าบ่อเป็นแห่งแรก ที่ทำการอยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองร้อยอาสารักษาดินแดนในปัจจุบัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่แห่งใหม่ คือบริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลปัจจุบัน การย้ายที่ทำการครั้งนั้นได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “สถานีอนามัยชั้น 1” โดยมีเตียงรับคนไข้ภายใน 10 เตียง ประกอบด้วย นายแพทย์ประจำ 1 คน สารวัตรสุขาภิบาล พนักงานอนามัย นางสงเคราะห์ (พยาบาล)ผดุงครรภ์ พนักงานบำบัดโรคเรื้อน และนักการอย่างละ 1 คน ส่วนด้านการรักษาพยาบาล ถ้ามีคนไข้หนักก็นำส่งโรงพยาบาลหนองคาย เนื่องจากเครื่องมือแพทย์ ตลอดจนแพทย์และเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ส่วนเจ้าหน้าที่อื่นๆ เช่น ด้านส่งเสริมสุขภาพ สุขาภิบาลป้องกันโรค ต้องรับผิดชอบงานทุกตำบลในเขตอำเภอท่าบ่อ เนื่องจากยังไม่มีสถานีอนามัยตำบล หรือสำนักงานผดุงครรภ์ การคมนาคมติดต่อก็ไม่สะดวกอย่างปัจจุบัน
ประมาณปี พ.ศ. 2517 กระทรวงสาธารณสุข ได้วางโครงการขยายงานด้านการรักษาพยาบาลออกไปสู่เขตชุมชนมากขึ้น “สถานีอนามัยชั้น 1” จึงมีการพัฒนามากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์การแพทย์และอนามัย” ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ศูนย์การแพทย์และอนามัยแห่งนี้ก็ยกระดับมาเป็น “โรงพยาบาลท่าบ่อ” แต่การบริการด้านการรักษาพยาบาลก็ยังคงรูปแบบเดิม คือมีเตียงรักษาผู้ป่วย 10 เตียง มีแพทย์ประจำ 1 คน ระบบการแบ่งงานยังไม่คล่องตัว ปี พ.ศ. 2520เป็นปีที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อได้รับการยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาล 30 เตียง มีแพทย์ประจำปฏิบัติงาน มีพยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น
และเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2520 รัฐบาลร่วมกับพสกนิกรชาวไทย ได้บริจาคทุนทรัพย์ร่วมกันจัดสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชขึ้นในอำเภอต่างๆ ทั่วประเทศจำนวน 21 แห่ง โดยโรงพยาบาลท่าบ่อก็เป็นหนึ่งใน 21 แห่งนี้ โรงพยาบาลท่าบ่อได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ” และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จฯ มาวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 12 กันยายนพ.ศ. 2520 และเสด็จฯ มาทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2522
ในปี พ.ศ. 2524 กระทรวงสาธารณสุขขออนุมัติให้โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ขยายจากขนาด 30 เตียงเป็นโรงพยาบาล 60 เตียง และได้พัฒนางานด้านการรักษามากขึ้น มีจำนวนบุคลากรมากขึ้น
ปัจจุบัน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 98 เตียง มีหน้าที่ต้องให้บริการประชาชนทั้งในด้านการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสภาพ และป้องกันโรค โดยมีขอบเขตความรับผิดชอบประชาชนอำเภอท่าบ่อ และอำเภอใกล้เคียง รวมทั้งเป็นโรงพยาบาลพี่เลี้ยงของโรงพยาบาลชุมชนในเขตจังหวัดหนองคายตอนเหนือ ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาลสังคม โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ ตลอดจนสถานีอนามัยในเขตอำเภอท่าบ่ออีกด้วย


วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การพัฒนาระบบสารสนเทศ ของเพจ เราคือท่าบ่อ จ.หนองคาย 😍😂

สำรวจเบื้องต้น
ปัญหาของเพจ
 เป็นเพจน้องใหม่ จึงยังไม่เป็นที่รู้จักและยังไม่เป็นระบบเท่าไหร่
 ไม่ได้สังกัดในพื้นที่โดยตรง หรือประจำอยู่ตลอดเวลา
 ไม่ได้มีการโปรโมทเพจอย่างต่อเนื่อง
 ขาดข่าวสารบางช่วงเวลา จึงไม่มีความต่อเนื่อง
ค่าใช้จ่ายของระบบ รวมแต่ละเดือนประมาณ 80,000/เดือน
⟴ ค่าลงพื้นที่แต่ละครั้ง ครั้งละ 1,000 บาท
⟴ กิจกรรมอีเวนท์ 20,000 บาท
⟴ ค่าอุปกรณ์ 10,000 บาท
⟴ ค่าใช้จ่าย 20,000 บาท
⟴ ค่าปรับปรุงระบบ 20,000 บาท
วิเคราะห์ความต้องการ
ของผู้ใช้
⇢ ข่าวสารที่รวดเร็วและแม่นยำ
⇢ ใช้งานสะดวกและง่ายต่อการค้นหาที่หลากหลาย
เด่น
⇢ มีความรวดเร็ว ของข่าวสารแม้ไม่ได้สังกัดในพื้นที่ตลอดเวลา
⇢ พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนแก้ไข ข้อบกพร่องของเพจอยู่เสมอ
ด้อย
⇢ ยังติดขัดและยังไม่ได้ตามระบบ ตามเป้าหมายเท่าที่ควร
⇢ ยังไม่มีอะไรน่าสนใจและน่าดึงดูด เหมือนกับเพจของคู่แข่ง
ออกแบบระบบ
จะทำการป้อนข้อมูลผ่าน Hardware โดยชุดคำสั่งของข้อมูลของ Software จะประมวลผลออกมาให้โดยอัตโนมัติ ผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถใช้งานได้หลากหลายระบบ ผ่าน สมาร์ทโฟน เทปเล็ต โน้ตบุ๊ค และอื่นๆ
facebook ➧ อัพเดทข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ
twit ➧ ปรับปรุงให้เข้ากับการใช้งานให้ได้มากที่สุด
blogger➧ หลากหลายทุกการใช้งานและสะดวก
ส่วนการเก็บรักษา สามารถเก็บไฟล์งานได้ในเมมเมอรี่คลาส ที่สามารถพกพาได้ง่าย สะดวก และบรรจุได้เยอะ
การปฏิบัติงาน
จัดหาอุปกรณ์
Software คือ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือกล้องถ่ายภาพที่พร้อมใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา และเหมาะกับทุกงานและไปได้ทุกสถานที่
Hardware คือ อินเตอร์เน็ต หรือ แอพพลิเคชั่นต่าง Facebook Twitter และ Blockerโดยจะมีการอัพเดทข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา
ติดตั้งและบำรุงรักษา (System Implement and Maintenance)
การอัพเดตระบบสารสนเทศทุกสัปดาห์ การอัพข้อความข้อมูลต่างๆสม่ำเสมอ ตามตารางที่จัดเตรียมไว้และข้อมูลที่อัพเดตเป็นข้อมูลสาธารณะ เพื่อผู้ที่สนใจเข้าชมและแชร์ได้ ตามระยะเวลา 2 เดือน
มั่นปรับปรุงกลยุทธ์และปรับปรุงระบบให้เข้ากับยุคสมัยและ เหมาะแก่การใช้งานที่หลากหลายให้ได้......

ประมวลเหตุการณ์ 1 ปี วันสวรรคต "ในหลวง รัชกาลที่ 9"

วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560

กลยุทธ์ของเพจ เราคือท่าบ่อ จ.หนองคาย
1. ภารกิจ (Mission)
เพื่อเป็นการโปรโมทอำเภอท่าบ่อ และบอกเล่าข้อมูลข่าวสาร แนะนำที่เที่ยว ที่กิน และที่พักต่างๆให้กับนักท่องเที่ยว
2. โครงร่างของบริษัท (Company profile)
ชื่อเพจ เที่ยวส่องดาว : เราคือท่าบ่อ จ.หนองคาย
พนักงาน
     ฝ่ายดูแลเพจ(แอดมินเพจ) : 2 คน
     ฝ่ายคอนเทนต์(เนื้อหา) : 3 คน
     ฝ่ายช่างภาพ : 2 คน
3. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
            SWOT
            3.1 S = Strength-จุดแข็ง
                 1.บอกเล่าข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว
                 2.แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว ที่กินและที่พักอัปเดตตลอดเวลา
                 3.มีช่องทางที่หลากหลายในการเลือกชม เช่น บล็อกเกอร์ ทวิตเตอร์ เพจ และยูทูป เป็นต้น
            3.2 W = Weakness-จุดอ่อน
                 1.เพจยังไม่ค่อยมีคนรู้จักมากเท่าที่ควร
                 2.ยังไม่มีกิจกรรมที่น่าสนใจให้แก่ลูกเพจนอกจากข้อมูลข่าวสาร

            3.3 O = Opportunity-โอกาส
                 1.เพจไม่ได้มีแค่บอกเล่าข้อมูลข่าวสารของอำเภอ แต่ยังแนะนำอาหารการกิน ประเพณีวัฒนธรรมอื่นๆ และสินค้าโอท็อป ที่มีอยู่ในอำเภอท่าบ่อ และอำเภอใกล้เคียง
                  2.ผู้ที่ชอบท่องเที่ยวจะมีโอกาศมากที่จะเห็นเพจของเรา
            3.4 T = Threats-อุปสรรค
                 1.เพจคู่แข่งที่นำเสนอในการเล่าเรื่องด้วยภาพที่สวยกว่า
                 2.วัน เวลาในการอัพเดตจะไม่แน่นอนเพราะต้องลงพื่นที่และหาข้อมูล
4.การวิเคราะห์กลยุทธ์และการเลือกกลยุทธ์
เป็นเพจ บล็อก ที่ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอำเภอท่าบ่อ  แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว อาหารการกิน และประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ในอำเภอท่าบ่อ
5. วัตถุประสงค์
1.เพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอท่าบ่อ
2.เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่คนในอำเภอ
3.เพื่อให้รู้เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ
4.เพื่อให้รู้จักสินค้าหรือของฝากที่ขึ้นชื่อของอำเภอท่าบ่อ
5.เพื่อให้ผู้คนรู้จักอำเภอท่าบ่อมากขึ้น
6. แผน (Plan)
            ภายในปีนี้ 2560 ทางเราจะมีการโปรโมทผ่านทุกช่องทาง และมีการจัดกิจกรรมร่วมสนุกต่างๆ  เพื่อให้คนรู้จักเพจ บล็อกของเรามากขึ้น จัดทำรายการเที่ยวไปเรื่อย แนะนำอำเภอท่าบ่อ


7. นโยบาย (Polices)
- เลือกโจทย์ในการจัดงาน
- ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับโจทย์ที่เราเลือกในการจัดงาน
- วางแผนกลยุทธ์ตามที่เตรียมไว้
- พิจารณาแผนและตัดสินใจตามกลวิธี
- จัดทำตามที่วางแผนไว้
- ประเมินผลหลังจากเสร็จงาน
8. การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Stragegy implrmentation)
            ในการโปรโมทผ่านทางเพจและบล็อก ทางเราจะพยายามหาข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ติดตามเพจเรามากที่สุด สมารถติดต่อสอบถามโดยตรงได้ 

            ในการจัดอีเว้นต์จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้ที่มาร่วมงานได้เล่นเกมเกี่ยวกับอำเภอของเรา มีการจ้างนักแสดงมาเป็นพรีเซนเตอร์ของจังหวัดเพื่อดึงดูดผู้คนให้มาสนใจ บอกเล่าเรื่องราวดีๆ เพื่อกล่าวถึงเพจและบล็อกของเรา เชิญชวนให้คนเข้ามาติดตามกัน 

9 คำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ใจความของพระบรมราโชวาททั้งหมดจะมุ่งเน้นให้คนในชาติ รู้รักสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความพอเพียง รู้จักตนเอง มีความขยันหมั่นเพียร ในการทำหน้าที่ของตนเอง หมั่นศึกษาหาความรู้ให้กับตนเอง และที่สำคัญจะต้องซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกงใคร ซึ่งคำสอนทั้งหมด หากเราทุกคนทำได้ ก็จะทำให้สังคมและประเทศของเรามีความเจริญรุ่งเรือง และไร้ซึ่งปัญหาทั้งมวล

1. ความเพียร

การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันควรทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีควรต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ วันที่ 27 ตุลาคม 2516

2. ความพอดี

ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับ ผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540

3. ความรู้ตน

เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 2521

4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้

คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้ พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521

5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ

ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496

6. พูดจริง ทำจริง

ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540

7. หนังสือเป็นออมสิน

หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้ พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514

8. ความซื่อสัตย์

ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปี พุทธศักราช 2531

9. การเอาชนะใจตน

ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม 2513

วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

อำเภอท่าบ่อ พระองค์ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎร อ.ท่าบ่อ 9 พ.ย. 2498

หมู่บ้านทำยาสูบ

หมู่บ้านแห่งนี้นั้นเป็นหมู่บ้านที่ทำไร่ปลูกยาสูบตามแนวริมฝั่งโขง ซึ่งนับว่ามีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามอุดมไปด้วยธรรมชาติที่อุดมสมบรูณ์ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจมาก การปลูกยาสูบของหมู่บ้านแห่งนี้นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้แก่คนในหมู่บ้าน โดยนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนสามารถรับชมบรรยากาศความงามของไร่ที่ปลูกยาสูบไปพร้อมกับวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของธรรมชาติโดยรอบ อีกทั้งยังสามารถสัมผัสถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนคนในหมู่บ้านรวมทั้งสามารถเรียนรู้ถึงกระบวนการและขั้นตอนในการปลูกยาสูบตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปได้ทั้งกระบวนการอีกด้วย

ที่ตัั้ง : ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย 43110
เวลาเปิด - ปิด : 08.30 - 16.30 น.
การเดินทาง : ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 211 หนองคาย-เชียงคาน จะผ่านหมู่บ้านทำยาสูบ ตำบลโพนสา อำเภอท่าบ่อที่อนุรักษ์การทำยาสูบแบบดั้งเดิมและวิวสวยๆ จากไร่ยาสูบริมฝั่งแม่น้ำโขง ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

#ร้านอร่อยอำเภอท่าบ่อ

แม่นางข้าวปุ้นปู











ร้านอยู่ใกล้กับโรงพยาบาล ข้างเซเว่นเลยย หาง่ายมากๆๆ



โรงเรียนท่าบ่อ  

  • ตราประจำโรงเรียน
    • เพขร  : ความเป็นเลิศทางวิชาการ
    • เรือสำเภา  : การพาณิชยกรรม
    • เคียวกับรวงข้าว  : การเกษตรกรรม
    • ทั่งกับค้อน  : การอุตสาหกรรม
    • ช่อใบยาสูบ  : ยาสูบเป็นพืชเศรษฐกิจของอำเภอท่าบ่อ
  • พุทธสุภาษิต : " ปญฺญา นรานํ รัตนํ " อ่านว่า " ปัน - ยา - นะ - รา - นัง - รัด - ตะ - นัง " แปลว่า " ปัญญาเปรียบดวงแก้วแห่งนรชน "
  • คติพจน์ : เรียนดี  กีฬาเก่ง  เคร่งวินัย
  • สีประจำโรงเรียน : เหลือง - ดำ

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ได้เปิดทำการสอน ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2491 โดยกระทรวงศึกษาธิการได้มีหนังสือลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ให้เปิดโรงเรียนประจำอำเภอท่าบ่อ และมีคำสั่งให้ นายสุริยน นาตรีชน ตำแหน่งครูโรงเรียนประจำจังหวัดหนองคาย ให้มารักษาการตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนท่าบ่อ ได้ดำเนินการเปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงแรกได้ทำการสอนที่อาคารเรียน โรงเรียนโกมลวิทยาคาร
พ.ศ. 2492 โรงเรียนได้รับที่ดินราชพัสดุ ขนาดกว้าง 124 เมตร ยาว 237.5 เมตร คิดเนื้อที่ประมาณ 18 ไร่ 1 งาน 62 ตารางวา ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อโรงเรียนโกมลวิทยาคาร ทางทิศใต้และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรกเป็นอาคารไม้ 6 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง จึงได้ย้ายนักเรียนที่ฝากเรียนอยู่ที่โรงเรียนโกมลวิทยาคารมาเรียนที่อาคาร เรียนหลังใหม่ของโรงเรียนท่าบ่อ
พ.ศ. 2500 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 100,000 บาท
พ.ศ. 2504 ได้รับงบประมาณ ต่อเติมชั้นล่างของอาคารเรียนหลังแรก 6 ห้องเรียนงบประมาณ 50,000 บาท
พ.ศ. 2515 กรมสามัญศึกษาเห็นว่า สถานที่โรงเรียนเดิมคับแคบ ไม่สามารถขยายและปรับปรุงให้ได้ขนาดมาตรฐานได้จึงให้โรงเรียนพิจารณาที่แห่ง ใหม่ โรงเรียนจึงเสนอจังหวัดขออนุญาตใช้ที่สาธารณสุขโคกใหญ่ซึ่งอยู่ติดกับถนนสาย ท่าบ่อ-บ้านผือ ห่างจากโรงเรียนท่าบ่อหลังเดิมประมาณ 2.5กิโลเมตร จังหวัดอนุญาตให้ใช้ได้เนื้อที่ ประมาณ165 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา
พ.ศ. 2519 ได้ย้ายนักเรียนบางส่วนออกมาเรียนที่โรงเรียนแห่งใหม่และเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2 ห้องเรียน
พ.ศ. 2520 ได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดออกมาเรียนที่แห่งใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนท่าบ่อ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

Jaew Family (31 สิงหาคม 2558) พาเที่ยว วัดศรีชมภูองค์ตื้อ อำเภอท่าบ่อ จั...

ประวัติอำเภอท่าบ่อ

ท่าบ่อ

ที่มาของชื่อ เดิมชาวบ้านโคกคอน บ้านว่าน และบ้านนาข่าซึ่งมีอาชีพต้มเกลือสินเธาว์ได้นำเกลือมาขายบริเวณวัดท่าคกเรือ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ต่อมาจึงเรียกบริเวณนี้ว่า "บ้านท่าบ่อเกลือ"

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอท่าบ่อแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 98 หมู่บ้าน ได้แก่
1.ท่าบ่อ(Tha Bo)13 หมู่บ้าน6.บ้านถ่อน(Ban Thon)8 หมู่บ้าน
2.น้ำโมง(Nam Mong)13 หมู่บ้าน7.บ้านว่าน(Ban Wan)8 หมู่บ้าน
3.กองนาง(Kong Nang)13 หมู่บ้าน8.นาข่า(Na Kha)8 หมู่บ้าน
4.โคกคอน(Khok Khon)7 หมู่บ้าน9.โพนสา(Phon Sa)10 หมู่บ้าน
5.บ้านเดื่อ(Ban Duea)9 หมู่บ้าน10.หนองนาง(Nong Nang)10 หมู่บ้าน

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอศรีเชียงใหม่ และนครหลวงเวียงจันทน์ (ประเทศลาว)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับนครหลวงเวียงจันทน์ (ประเทศลาว) และอำเภอเมืองหนองคาย
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสระใคร และอำเภอบ้านผือ (จังหวัดอุดรธานี)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านผือ (จังหวัดอุดรธานี) และอำเภอโพธิ์ตาก

สถานที่ที่น่าสนใจ

หมู่บ้านประมงน้ำจืด

อยู่ที่ตำบลกองนาง ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211 ตอนท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้านมีอาชีพทำการประมงน้ำจืดและเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดชนิดต่าง ๆ เช่น ปลาตะเพียน ปลาไน ปลานวลจันทร์น้ำจืด ปลายี่สกเทศ ปลาเกล็ดเงิน ปลาหัวโต และปลาดุกเทศ โดยจัดส่งไปจำหน่ายยังกรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจแห่งหนึ่ง

หมู่บ้านทำยาสูบ

อยู่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211 ตอนสี่แยกหนองคาย-ท่าบ่อ มีชาวบ้านทำไร่ยาสูบตามแนวเลียบริมฝั่งโขง มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม เป็นวิถีชีวิตชาวบ้านที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง

หมู่บ้านทำแผ่นกระยอ

หมู่บ้านทำแผ่นกระยอ
อยู่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 2 (หนองสองห้อง)-ท่าบ่อ เป็นหมู่บ้านทำแผ่นกระยอ เป็นแผ่นแป้งสำหรับใช้ทำเปาะเปี๊ยะ มีการส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนและวิถีชีวิตที่น่าสนใจ

แหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน

อยู่ที่บ้านโคกคอน ตำบลโคกคอน เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาถึงสมัยทวารวดี ได้มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณและเครื่องใช้ต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก โบราณวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องมือหินขัด กำไลหิน หัวลูกศรหิน กระพรวนสำริด แท่งดินเผา มลายภาชนะดินเผาแบบเนื้อดิน บางชิ้นมีลายเขียนสีแดงแบบกลุ่มวัฒนธรรมบ้านเชียง เสมาหินสมัยทวารวดี และครกหินใหญ่ที่สันนิษฐานว่าเป็นเบ้าหลอมโลหะ นอกจากนี้ยังได้พบเหรียญฟูนันสมัยทวารวดี

หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ

หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ
ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดศรีชมภูองค์ตื้อ บ้านน้ำโมง ตำบลน้ำโมง หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อปี พ.ศ. 2105 โดยใช้ทองเหลืองและทองแดงหนัก 1 ตื้อ (ประมาณ 12,000 กิโลกรัม) แล้วหล่อเป็นส่วน ๆ โดยหล่อพระเกศเป็นลำดับสุดท้าย เมื่อหล่อเสร็จประกอบเป็นองค์พระแล้วได้นำมาประดิษฐาน ณ วัดโกสีย์ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีชมภูองค์ตื้อ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงทราบและได้เสด็จมาทอดพระเนตรแล้วเกิดศรัทธา จึงได้ทรงสร้างพระวิหารเพื่อให้เป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าองค์ตื้อ และปันเขตแดนให้เป็นเขตของพระเจ้าองค์ตื้อพร้อมทั้งมีบริวาร 13 หมู่บ้าน
พระเจ้าองค์ตื้อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสำริดขนาดใหญ่ และถือว่าใหญ่ที่สุดของจังหวัดหนองคาย มีพุทธลักษณะงดงามมาก หน้าตักกว้าง 3.30 เมตร สูง 4 เมตร ชาวหนองคายและประชาชนทั่วไปทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงนับถือหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาได้กำหนดเป็นพระราชพิธีที่กษัตริย์เวียงจันทน์ต้องเสด็จมานมัสการทุก 4 เดือน โดยแต่งขบวนช้าง ม้า และราบ มาสักการะจากวัดท่าคกเรือจนถึงวัดพระเจ้าองค์ตื้อเป็นระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร ถนนนี้จึงได้ชื่อว่า "จรดลสวรรค์" มาจนถึงทุกวันนี้
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 มีการเวียนเทียนรอบพระวิหารพระเจ้าองค์ตื้อ และตอนเช้าวันแรม 1 ค่ำ มีการจุดบั้งไฟบูชาพระเจ้าองค์ตื้อ และเป็นวันสิ้นสุดงานสมโภชพระเจ้าองค์ตื้อ ซึ่งมีเป็นประจำทุกปีตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ไปจนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4

วัดศรีชมภูองค์ตื้อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย


วัดศรีชมภูองค์ตื้อ

วัดศรีชมภูองค์ตื้อ ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 8 บ้านน้ำโมง ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคายสังกัดมหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา โฉนดเลขที่ 1212 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 220 เมตร จดที่มีการครอบครอง, ทิศใต้ประมาณ 210 เมตร จดทางสาธารณประโยชน์, ทิศตะวันออกประมาณ 140 เมตร จดห้วยโมง, ทิศตะวันตกประมาณ 121 เมตร จดทางสาธารณประโยชน์, อาคารเสนาสนะประกอบด้วยพระอุโบสถ, พระวิหาร, ศาลาการเปรียญ, กุฏิสงฆ์ 9 หลัง, ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์นามพระเจ้าองค์ตื้อ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร พระเจ้าองค์ตื้อน้อยประดิษฐานในพระอุโบสถ เจดีย์นกยูง เจดีย์ดอกบัว

ประวัติในหินศิลาจารึก
เรื่องหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ ถอดความจากอักษรตัวธรรมหรือภาษาไทยน้อยได้ว่าดังนี้
  1. สร้างเมื่อพระพุทธศักราช 2105 พระวรรษา
  2. พระชัยเชษฐาเป็นลูกเขยพระยาศรีสุวรรณภรรยาของพระชัยเชษฐาคือ พระนางศรีสมโพธิมีลูก 4 คนเป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 1 คน
  3. พระชัยเชษฐาเกิดที่เมืองเวียงคุก ภรรยาเกิดที่เมืองจำปา (บ้านน้ำโมง) ในปัจจุบัน
  4. นามวัดโกศีลสร้างได้ 1 ปี 3 เดือน สมภารชื่อพระครูอินทราธิราช อายุ 34 พรรษา 15 มีพระอยู่ด้วย 12 รูป สามเณร 5 รูป
  5. ทางวัดโกศิลทางยาว 1 เส้น 5 วา กว้าง 1 เส้น 10 วา
  6. วัด โกศิล เป็นวัดที่สำคัญมากกงจักรเกิดที่วัดนี้ พระชัยเชษฐาจึงเลื่มใสจึงชักชวนคณะที่มีศรัทธารวม 8 คนคือ พระชัยเชษฐา, ท้าวอินทราธิราช, ท้าวเสนากัสสะปะ, ท้าวอินทร์, ท้าวเศษสุวรรณ, ท้าวพระยาศรี, ท้าวดามแดงทิพย์, ท้าวอินสรไกรยสิทธิ์ ร่วมกันสร้าง พระชัยเชษฐาเป็นคนหล่อ
  7. พระ ชัยเชษฐาป่าวร้องให้บริวาร 500 คนมาช่วยหล่อเป็นทองเหลือง เงิน และคำสผมกันน้ำหนักได้หนึ่งตื้อทำพิธีหล่อเท่าไรก็ไม่สำเร็จต่อเมื่อพระ อินทร์และเทพยดา 108 องค์มาช่วยหล่อจึงสำเร็จเป็นหลวงพ่อองค์ตื้อ
  8. วัดโกศิลตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง สร้างอยู่ 7 ปี 7 เดือนจึงสำเร็จเป็นหล่องพ่อองค์ตื้อ
  9. เมื่อหล่อแล้วมีอภินิหารเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถึง 100 อย่าง
  10. พระพุทธรูปองค์นี้สิ้นเงิน 105,000 ชั่ง
  11. บ้าน ที่ขึ้นเป็นบริวารมี 13 บ้านคือ เมืองเวียงคุก, กองนาง, กำพร้า, จินายโม้, ปากโค, พรานพร้าว, ศรีเชียงใหม่, หนองคุ้งยางคำ, หนองแซงศรี, สามขา, ท่าบ่อ และ บ่อโอทะนา
ปาฏิหาริย์หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ
มี เรื่องเล่ากันว่าครั้งหนึ่งพวกฮ่อได้ยกทัพข้ามโขงมาขึ้นที่ฝั่งวัดน้ำโขง เพื่อหวังจะทำลายพระองค์ตื้ออันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนแถบนั้นเพื่อ เป็นการทำลายขวัญและกำลังใจของชาวบ้าน ขณะที่ข้าศึกได้จ้วงขวานฟันลงไปที่พระชานุ (เข่า)ของพระองค์ตื้อนั้นก็ปรากฏมีเสียงร้องออกมาจากพระโอษฐ์ และมีพระโลหิตไกลออกจากแผลที่พระชานุ พร้อมกับมีน้ำพระเนตรไหลซึมออกมาเป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก ข้าศึกเห็นเป็นอัศจรรย์เช่นนั้นก็เกรงจะเกิดภัยจึงได้รีบยกทัพกลับ แต่ก็ปรากฏว่าพวกฮ่อได้ถึงแก่ความตายจนหมดสิ้น ทุกวันนี้แผลเป็นที่พระชานะก็ยังปรากฏอยู่
ใน สมัยก่อนผู้คนสัญจรไปมาจะสวมรองเท้าเข้าไปในวัดไม่ได้ จะต้องมีอันเป็นไปโดยประการต่างๆ แม้แต่เจ้านายที่เข้ามาถือน้ำพิพัฒนสัตยาจะสวมรองเท้าเข้าไปในวิหารนั้นก็ ไม่ได้ถ้าบุคคลใดฝ่าฝืนก็จะได้รับโทษโดยประการต่างๆ เช่นเจ็บป่วยโดยกะทันหันเป็นต้น



บุคคล ที่ไม่มีบุตรธิดาสืบสกุล มีดอกไม้ธูปเทียนหรือเครื่องสักการะอย่างอื่นมาทูลขอบุตรธิดาจากพระองค์ตื้อ บุคคลผู้นั้นก็จะได้กุลบุตรธิดาสืบสกุลสมความมุ่งหมายปรารถนา แต่บุตรธิดาที่พระองค์ประธานให้แล้วนั้น บิดามารดาจะทำโทษหรือเฆี่ยนตีโดยประการใดๆ ไม่ได้ ต้องสั่งสอนเอาโดยธรรมเท่านั้น
บุคคล ผู้ใดของหาย เช่น เงิน ทอง โค กระบือ เป็นต้น มีดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะมาบูชาบวงสรวง เพื่อให้ได้สิ่งของนั้นคืนมาก็จะได้คืนมาสมประสงค์ทรัพย์สมบัติของใครหายไม่ ทราบว่าผู้ใดมาลักขโมยเอาไป เจ้าของทรัพย์หากมีความสงสัยผู้ใดก็นำบุคคลผู้นั้นมาทำสัตย์สาบานต่อหน้าพระ พักตร์พระเจ้าองค์ตื้อ ถ้าบุคคลผู้นั้นไม่ได้เอาไปก็จะไม่เป็นอะไร แต่ถ้าบุคคลผู้นั้นเอาไปจริงๆ แต่ปฏิเสธไม่ยอมรับตามความจริง บุคคลผู้นั้นก็จะได้รับโทษเช่น เจ็บป่าวยหรืออาจถึงแก่ความตายได้
บุคคล ผู้ใดไปทำศึกสงคราม ได้มาบนบานขอให้พระเจ้าองค์ตื้อคุ้มครอง บุคคลผู้นั้นก็จะปลอดภัยประสพแต่ความสวัสดีมีชัยกลับมาและบุคคลผู้ใดปรารถนา อยากจะให้มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตนำเครื่องสักการะมาบูชาพระเจ้าองค์ ตื้อขออานุภาพของพระองค์ตื้อคุ้มครองและบันดาลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองใน การประกอบอาชีพที่สุจริตบุคคลผู้นั้นก็จักเจริญสมความมุ่งมาดปรารถนาทุก ประการ
อนึ่งการเจ็บไข้ได้ป่วย จนถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อไปมาไม่ได้ บางคนก็ให้ญาติพี่น้องไปบูชาแผ่นทองปิดองค์หลวงพ่อใหญ่หรือพระพุทธจำลอง ตั้งจิตอธิฐานปิดตรงที่เจ็บปวดนั้น ปรากฏว่าโรคนั้นก็หายดังจิตอธิฐาน